หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

การวางนิ้วและฝึกเล่นเปียโน

ก่อนที่เราจะกดเปียโน เรามาทำข้อตกลงเรื่องการเรียกนิ้วมือกันก่อนครับ ทุกคนคงทราบอยู่แล้วว่ามือไหนมือซ้าย มือไหนมือขวา งั้นเรามาเริ่มกำหนดเบอร์ให้นิ้วกันเลยครับ
Piano Fingering

  • นิ้วโป้ง → นิ้ว 1
  • นิ้วชี้ → นิ้ว 2
  • นิ้วกลาง → นิ้ว 3
  • นิ้วนาง → นิ้ว 4
  • นิ้วก้อย → นิ้ว 5
ลองยกมือขึ้นทั้งสองมือแล้วลองกระดิกนิ้วแล้วบอกเบอร์ของนิ้วรวมถึงมืออะไรด้วยจะยิ่งดีมากเลยครับ จำเบอร์ของนิ้วให้ได้เพราะเราต้องใช้เบอร์เหล่านี้ไปตลอดการเล่นเปียโนเลยครับ


ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก http://www.piano-ohyes.com/lessons/piano-fingering.html

วีดิโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=7NxLJql9pfo

การอ่านโน๊ตและเล่นเปียโน

บรรทัด 5 เส้น เคยสงสัยไหมคะว่าในเพลงเพลงหนึ่งมีเสียงสูงเสียงต่ำเรียบเรียงกันอย่างไพเราะนั้นทำอย่างไรถึงจะสามารถแยกเสียงสูงเสียงต่ำที่มีมากมายเหล่านั้นออกไปได้และหากจะนำมาเขียนเป็นโน๊ตเพลงให้คนได้นำไปใช้เล่นกันมันจะเขียนได้อย่างไรเพื่อลดปัญหาที่เรากำลังขบคิดกันอยู่นี้ นักดนตรีสมัยก่อนจึงได้คิดค้นสิ่งๆหนึ่งที่เรียกกันว่า          “บรรทัด 5 เส้น” (The Stave , Staff) ซึ่งสิ่งๆนี้จะช่วยเป็นตัวแยกเสียงให้เรารู้ว่าโน๊ตแต่ละตัวที่เรากำลังจะเล่นนั้นเป็นตัวอะไร                       เป็นเสียงสูง หรือ ต่ำ ซึ่งช่วยทำให้ง่ายต่อการเขียนและอ่านโน๊ตเป็นอย่างมาก


แล้วเจ้าบรรทัด 5 เส้นเนี่ย มันเป็นอย่างไร? 

ตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยก็คงเป็น เส้นบรรทัดที่มีทั้งหมด 5 เส้น 

แต่ถ้าจะให้ขยายความไปอีกหน่อย บรรทัด 5 เส้นก็คือ เส้นตรงแนวนอน 5 เส้น ที่ขนานกัน และมีช่องว่างที่คั่นระหว่างเส้นแต่ละบรรทัด ในระยะห่างที่เท่ากัน
ซึ่งช่องว่างภายในบรรทัด 5 เส้นนี้จะมีทั้งหมด 4 ช่อง โดยไม่ว่าจะเป็นช่องหรือเส้น ก็สามารถเขียนตัวโน๊ตลงไปได้เช่นกัน

เราสามารถเรียกเส้นแต่ละเส้นและช่องแต่ละช่อง โดยการนับจากล่างขึ้นบนเส้นที่อยู่ล่างสุดจะเรียกว่าเส้นที่1 และ ช่องที่อยู่ระหว่างเส้นที่ 1 กับ 2 จะเรียกว่าช่องที่ 1 ไล่ขึ้นไปตามลำดับ ตามรูป

ทว่าด้วยความที่มันมีเพียงแค่ห้าเส้น แต่ตัวโน๊ตนั้นมีเสียงมากมายเกินกว่าที่เส้นทั้ง 5 และช่องว่างทั้ง 4 จะรับได้ไหว
การเขียนโน๊ตจึงไม่จำกัดเพียงแค่ในบริเวณบรรทัด 5 เส้นเท่านั้น เราอาจจะเขียนเลยขึ้นไป หรือ ลงมาจากบรรทัด 5 เส้นด้วยก็ได้
โดยจะมี ‘เส้นน้อย’ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเสริมของบรรทัด 5 เส้น
ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถอ่านโน้ตที่เหนือขึ้นไป และต่ำลงมาจากบรรทัด 5 เส้นได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังรูป

สำหรับโน๊ตเปียโนนั้น เรามักจะใช้บรรทัด 5 เส้น 2 อันคู่กัน หรือที่เรียกว่า ‘บรรทัด 5 เส้นคู่’ (The Grand Stave , Staff) 
ซึ่งจะไว้ใช้แยกโน๊ตที่ใช้เล่นสำหรับมือขวา (ด้านบน) และมือซ้าย (ด้านล่าง)
โดยบรรทัด 5 เส้นคู่นี้จะมี ‘เส้นปีกกา’ (Brance) ที่ใช้เชื่อม บรรทัด 5 เส้นทั้งคู่ไว้ด้วยกัน ดังนี้

นอกจากนี้เพื่อความสะดวกในการเล่นโน๊ต ในบรรทัด 5 เส้น จะถูกแบ่งออกเป็น ‘ห้องๆ’ (Measure) โดยมี ‘เส้นกั้นห้อง’ (Bar Line) กั้นห้องแต่ละห้องไว้ ดังรูป

กุญแจประจำหลัก 

‘กุญแจประจำหลัก’ (Clef) ในดนตรีสากลนั่นเดิมมีมากมายหลายชนิดด้วยกันโดยกุญแจประจำหลักแต่ละชนิดจะมี ’ช่วงของระดับเสียง’ ที่ต่างกัน
สำหรับเปียโนนั้นกุญประจำหลักที่ใช้มีเพียงแค่ 2 กุญแจเท่านั้น นั่นคือ ‘กุญแจซอล’ (The Treble Clef Sign or G-Clef) และ ‘กุญแจฟา’ (The Bass Clef Sign or F-Clef) 
ซึ่งจะมีช่วงของระดับเสียงดังนี้

- กุญแจซอล (The Treble Clef Sign or G-Clef) จะมีระดับเสียงอยู่ในช่วงเสียงกลาง ไปจน สูง มักใช้เป็นกุญแจที่ใช้เล่นกับโน๊ตมือขวา



- กุญแจฟา (The Bass Clef Sign or F-Clef) จะมีระดับเสียงอยู่ในช่วงเสียงต่ำ มักใช้เป็นกุญแจที่ใช้เล่นกับโน๊ตมือซ้าย

กุญแจทั้งสองนั้นนอกจากจะช่วยแสดงถึงระดับเสียงของโน๊ตแล้ว ยังจำเป็นอย่างมากสำหรับการอ่านโน๊ต เพราะกุญแจต่างชนิดกันก็จะมีวิธีอ่านโน๊ตที่ต่างกันออกไปดังจะได้กล่าวต่อไป



การอ่านโน๊ต 

โน๊ตดนตรีที่เราเห็นว่ามีมากมายนั้น แท้จริงแล้วมีเสียงอยู่เพียงแค่ 7 เสียงเท่านั้น                                 นั่นคือ C D E F G A B ไล่ไปเรื่อยๆตามระดับเสียงสูง หรือต่ำ
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราสามารถเขียนโน๊ตได้หลากหลายตามระดับเสียงของมันดังนั้นเราจึงต้องมีกุญแจประจำหลักที่จะเป็นตัวช่วยระบุว่าโน๊ตที่เราจะเขียนลงไปในบรรทัด 5 เส้น แต่ละตัวจะสามารถอ่านได้อย่างไรบ้าง


การอ่านโน๊ตที่มีกุญแจซอลเป็นกุญแจประจำหลัก 

เราได้ทราบกันแล้วว่า กุญแจประจำหลักจะเป็นตัวระบุตัวโน๊ตที่เขียนว่าควรอ่านอย่างไร กุญแจซอลซึ่งเป็นหนึ่งในกุญแจประจำหลักก็สามารถใช้ระบุตัวโน๊ตได้เช่นกัน
โดยหากเราสังเกตส่วนที่เป็นส่วนโค้งของก้นหอยตรงกลางในกุญแจซอล ส่วนนี้จะคาบเกี่ยวอยู่กับเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น (วิธีการนับลำดับเส้นสามารถอ่านได้ในหัวข้อบรรทัด 5 เส้น)



ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถระบุได้ว่าเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้นนี้จะต้องเป็นเสียง G ที่อยู่ในระดับเสียงกลางอย่างแน่นอน (เหตุผลที่อยู่ในเสียงกลางเพราะว่ากุญแจซอลเป็นกุญแจที่มีโน๊ตโดยทั่วไป            อยู่ในระดับเสียงกลางไปจนถึงสูง เสียง G จึงอยู่ในเสียงกลาง)
เมื่อเราทราบเช่นนี้แล้ว การจะอ่านโน๊ตในตำแหน่งต่างๆต่อจากนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะตามที่เคยกล่าวไว้แล้วว่าเสียงของตัวโน๊ตจะไล่เรียงกันไปเรื่อยๆ จาก C ไป D จาก D ไป E ไล่ต่อไปเรื่อยๆตามลำดับ ทำให้เราสามารถอ่านโน๊ตได้ ดังรูป



สำหรับการเล่นโน๊ตบนคีย์เปียโนนั่น ตำแหน่งของโน๊ต G ตัวนี้จะเป็น G ที่อยู่สูงกว่า Middle-C  (Middle-C คือ C ที่มีเสียงกลาง จะอยู่ตรงกลางของเปียโน) ดังรูป




เปรียบเทียบวิธีการอ่านและกดตัวโน๊ตในกุญแจซอล 






การอ่านโน๊ตที่มีกุญแจฟาเป็นกุญแจประจำหลัก 

เช่นเดียวกับกุญแจซอล กุญแจฟาก็สามารถใช้ระบุตัวโน๊ตได้เช่นกัน โดยตำแหน่งที่ใช้ระบุนั้น              คือหัวของกุญแจฟา ที่คาบเกี่ยวกับเส้นที่ 4 ในบรรรทัด 5 เส้น ดังรูป



ดังนั้นเส้นที่ 4 จึงต้องมีเสียงเป็น เสียง F ที่อยู่ในระดับเสียงต่ำ (กุญแจฟามีโน๊ตส่วนใหญ่อยู่ในระดับเสียงต่ำ) เมื่อทราบแล้วเราก็สามารถนับไล่เสียงต่อไปได้เรื่อยๆตามที่เคยกล่าวไว้



สำหรับการเล่นโน๊ตบนคีย์เปียโนนั่น ตำแหน่งของโน๊ต F ตัวนี้จะเป็น F ที่อยู่ต่ำกว่า Middle-C    (Middle-C คือ C ที่มีเสียงกลาง จะอยู่ตรงกลางของเปียโน) ดังรูป




เปรียบเทียบวิธีการอ่านและกดตัวโน๊ตในกุญแจฟา






เครื่องหมายแปลงเสียงตัวโน๊ต

เครื่องหมายแปลงเสียงที่ใช้ทางดนตรีมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ชนิด คือ

1.  ชาร์ป (Shap) เป็นเครื่องหมายที่จะทำให้โน๊ตมีระดับเสียงเพิ่มขึ้นครึ่งเสียง
2.  แฟล็ต (Flat) เป็นเครื่องหมายตรงข้ามกับชาร์ป กล่าวคือจะทำให้โน๊ตมีระดับเสียงต่ำลงครึ่งเสียง 
3.  เนเชอรัล (Natural) เป็นเครื่องหมายที่ทำให้ตัวโน๊ตที่ถูกเพิ่มหรือลดระดับเสียงจากการใช้เครื่องหมายแปลงเสียง กลับสู่ระดับเสียงปกติของมัน


สำหรับการใช้นั้น เราจะนำเครื่องหมายเหล่านี้ไปวางไว้หน้าตัวโน๊ตที่เราต้องการลดหรือเพิ่มเสียง หรือต้องการทำให้โน๊ตนั้นมีระดับที่กลับมาสู่ระดับปกติ
โดยเมื่อนำไปวางแล้ว โน๊ตที่อยู่บนเส้นหรือช่องเดียวกันก็จะติดคุณสมบัติของเครื่องหมายแปลงเสียงตามแต่ที่ใช้ไปด้วย
แต่การใช้เครื่องหมายแปลงเสียงก็มีข้อจำกัดอยู่ที่ มันจะมีผลบังคับใช้อยู่ในห้องที่มีตัวโน๊ตที่ติดเครื่องหมายเท่านั้น
เมื่อเราเล่นถึงห้องถัดไป เสียงของโน๊ตก็จะกลับเข้าสู่ระดับเสียงปกติโดยอัตโนมัติ


ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก http://group.wunjun.com/#!/piano4u/topic/364443-11335